• 089-7667218, 081-5736596, (02) 084-0695
  • meenergies.contact@gmail.com
  • ME Energies
Real-Time Chart with Random Data
เครื่องปรับอากาศ: 0 kW
ระบบแสงสว่าง: 0 kW
เครื่องใช้ไฟฟ้าต่างๆ: 0 kW

เกี่ยวกับเรา

       เราเป็นทีมผู้ตรวจประเมินการออกแบบก่อสร้างหรือดัดแปลงอาคารเพื่อการอนุรักษ์พลังงาน รวมถึงการตรวจสอบและรับรองการจัดการพลังงาน เรามีความมุ่งมั่นที่จะให้คำแนะนำด้านการจัดการพลังงานอย่างต่อเนื่องในช่วงก่อนการตรวจสอบ เพื่อช่วยแบ่งเบาภาระให้กับคณะทำงานของท่านในการดำเนินการจัดการพลังงานประจำปีตามกฎหมายอนุรักษ์พลังงาน

       บริการของเราครอบคลุมทั้งการกำหนดเป้าหมายและแผนอนุรักษ์พลังงาน การฝึกอบรม และกิจกรรมส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน เพื่อให้การจัดทำระบบการจัดการพลังงานมีประสิทธิภาพและสามารถดำเนินการได้สอดคล้องตามข้อกำหนดของกฎกระทรวงอย่างถูกต้องและครบถ้วน

บริการของเรา

  • ที่ปรึกษาการจัดการพลังงาน

    เราได้พัฒนาทางเลือกใหม่ในการให้คำปรึกษาด้านการจัดทำรายงานและระบบการจัดการพลังงาน ภายใต้พระราชบัญญัติส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน พ.ศ. 2535 (แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2550) ที่มุ่งสร้างผลลัพธ์เชิงบวกต่อทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะเป็นผู้บริหาร ผู้จัดการ หัวหน้างาน วิศวกร ฝ่ายช่าง รวมถึงพนักงานทุกระดับ โดยเน้นการให้คำปรึกษาที่มีคุณภาพสูง คุ้มค่า และสามารถช่วยให้องค์กรก้าวข้ามข้อจำกัดของการจ้างที่ปรึกษาด้านพลังงานแบบดั้งเดิมที่มักมีค่าใช้จ่ายสูง เรามุ่งมั่นที่จะให้การสนับสนุนที่เป็นประโยชน์จริงในกระบวนการบริหารจัดการพลังงาน เพื่อให้สอดคล้องกับข้อกำหนดทางกฎหมายและสร้างความยั่งยืนทางพลังงานในองค์กร

  • บริการฝึกอบรมอนุรักษ์พลังงาน

    เราให้บริการฝึกอบรมด้านการอนุรักษ์พลังงาน โดยวิทยากรผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์อย่างลึกซึ้งในการจัดการพลังงานตั้งแต่ปี ค.ศ. 1998 จนถึงปัจจุบัน มุ่งเน้นการพัฒนาบุคลากรทั้งในด้านทฤษฎีและเทคนิค พร้อมทั้งปลูกฝังจิตสำนึกด้านการอนุรักษ์พลังงานให้เกิดขึ้นในจิตใจของพนักงานทุกคน เพื่อสร้างทีมงานที่เข้มแข็งและเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันในความพยายามร่วมกันอนุรักษ์พลังงานอย่างยั่งยืนและลดต้นทุนพลังงานให้กับสถานประกอบการของท่านในระยะยาว
    เรายินดีให้บริการฝึกอบรมโดยวิทยากรที่ได้รับใบอนุญาตตรวจสอบและรับรองการจัดการพลังงาน บ.0079/59 จากกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน (พพ.) และใบอนุญาตวิศวกรรมควบคุมจากสภาวิศวกร การฝึกอบรมของเราเน้นการส่งเสริมประสิทธิภาพในการใช้พลังงานอย่างคุ้มค่าและยั่งยืนในองค์กรของท่าน

  • ตรวจประเมินแบบอาคารเพื่อการอนุรักษ์พลังงาน (Building Energy Code : BEC)

    เราให้บริการตรวจประเมินการออกแบบก่อสร้างหรือดัดแปลงอาคารเพื่อการอนุรักษ์พลังงานตามมาตรฐานที่กำหนด โดยทีมผู้ตรวจของเราได้รับการรับรองจากกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน (พพ.) ให้ดำเนินการตรวจประเมินตามข้อกำหนดและขั้นตอนที่เกี่ยวข้อง พร้อมทั้งสามารถเซ็นรับรองผลการตรวจประเมิน ซึ่งใช้ประกอบการยื่นขออนุญาตก่อสร้างหรือดัดแปลงอาคารได้อย่างถูกต้องตามกฎหมาย เรามุ่งมั่นให้บริการที่มีความถูกต้องและมีมาตรฐานสูงสุด เพื่อสนับสนุนการอนุรักษ์พลังงานในอาคารอย่างยั่งยืน

  • ตรวจสอบและรับรองรายงานการจัดการพลังงาน 8 ขั้นตอน

    เรามีทีมงานที่เชี่ยวชาญในการตรวจสอบรายงานการจัดการพลังงาน โดยผู้ตรวจสอบที่มีประสบการณ์มากกว่า 10 ปีในด้านการจัดการพลังงาน ซึ่งสามารถช่วยแบ่งเบาภาระให้กับคณะทำงานของท่านในกระบวนการจัดการพลังงานประจำปี ไม่ว่าจะเป็นการกำหนดเป้าหมายและแผนอนุรักษ์พลังงาน การฝึกอบรม และการจัดกิจกรรมส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน
    เรายังให้คำปรึกษาอย่างต่อเนื่องเพื่อช่วยจัดทำระบบการจัดการพลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ โดยทำหน้าที่เป็นพี่เลี้ยงที่คอยให้คำแนะนำในทุกขั้นตอน เพื่อให้การดำเนินงานสอดคล้องกับข้อกำหนดของกฎกระทรวงอย่างถูกต้องและครบถ้วน

  • ตรวจวัดประสิทธิภาพ การใช้พลังงาน และพฤติกรรมการใช้งาน

    เราคือผู้เชี่ยวชาญด้านการตรวจวัดการใช้พลังงาน เรามีทีมงานที่มีความชำนาญในการประเมินประสิทธิภาพการใช้ไฟฟ้า และพฤติกรรมการใช้งานของอุปกรณ์ต่างๆ ในองกรค์ การตรวจวัดการใช้พลังงานนั้นมีความสำคัญอย่างยิ่งในยุคที่เรากำลังเผชิญกับปัญหาพลังงานที่จำกัดและราคาที่สูงขึ้น ทีมงานของเรามีเครื่องมือและเทคโนโลยีที่ทันสมัยในการวัดปริมาณการใช้พลังงานอย่างแม่นยำ ซึ่งช่วยให้เราเข้าใจถึงการใช้พลังงานที่แท้จริงของอุปกรณ์ต่างๆ และสามารถระบุแหล่งที่มีการใช้พลังงานสูงเกินความจำเป็นได้ นอกจากนี้ เรายังวิเคราะห์พฤติกรรมการใช้งานของผู้ใช้เพื่อให้คำแนะนำในการปรับปรุงพฤติกรรมการใช้พลังงานให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ข้อมูลที่ได้จากการตรวจวัดสามารถนำไปใช้ในการวางแผนและปรับปรุงการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งไม่เพียงแต่ช่วยลดค่าใช้จ่ายในการใช้ไฟฟ้า แต่ยังส่งเสริมการใช้พลังงานอย่างยั่งยืนในระยะยาว โดยเรามุ่งหวังที่จะสนับสนุนให้ทุกองค์กรและครัวเรือนได้มีการจัดการพลังงานที่ดีขึ้นและมีประสิทธิภาพมากที่สุด

ตรวจและรับรองโดย ทีมผู้ตรวจประเมินค่าอนุรักษ์พลังงานที่ได้รับใบอนุญาตจาก พพ.

หัวข้อการตรวจสอบ

          1. การตั้งคณะทำงานด้านการจัดการพลังงาน

          2. การประเมินสถานภาพการจัดการพลังงานเบื้องต้น

          3. การกำหนดนโยบายอนุรักษ์พลังงาน

          4. การประเมินศักยภาพการอนุรักษ์พลังงาน

          5. การกำหนดเป้าหมายและแผนอนุรักษ์พลังงาน, แผนฝึกอบรมและกิจกรรมเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน

          6. การดำเนินการตามแผนอนุรักษ์พลังงาน การตรวจสอบและวิเคราะห์การปฏิบัติตามเป้าหมายและแผนการอนุรักษ์พลังงาน และแผนการฝึกอบรมและกิจกรรมเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน

          7. การตรวจติดตามและประเมินการจัดการพลังงาน

          8. การทบทวน วิเคราะห์และแก้ไขข้อบกพร่องของการจัดการพลังงาน

รายละเอียดการตรวจสอบ เป็นไปตามประกาศกระทรวง ข้อ.24 (3) ก) และ ข)

          พ.ร.บ. การส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน พ.ศ. 2535 (แก้ไขเพิ่มเติม) พ.ศ. 2550 ระบุให้โรงงานควบคุม และอาคารควบคุมต้องดําเนินการตามวิธีการจัดการพลังงานทั้ง 8 ขั้นตอน และต้อง จัดทํารายงานการจัดการพลังงาน รวมทั้งแนบผลการตรวจสอบและรับรองจากทีมงานผู้ตรวจสอบพลังงานภายนอกที่ขึ้นทะเบียนกับ พพ. ให้แก่อธิบดีกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงานภายในเดือนมีนาคมของทุกปี (นําส่ง 1 ครั้งต่อปี) เพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบต่อไป 

          การจัดเตรียมและบันทึกข้อมูลลงในแบบบันทึก รวมถึงการจัดทํารายงานการจัดการพลังงานจึงมีความสําคัญอย่างยิ่ง เพราะรายงานดังกล่าวต้องมีความถูกต้องและครบถ้วน ทั้งนี้เพื่อให้ผ่านการตรวจสอบและรับรองโดยผู้ตรวจสอบพลังงาน จึงจะสามารถนําส่งให้แก่ พพ. เพื่อตรวจรับได้

          รายงานการจัดการพลังงาน ประกอบด้วย 8 บท ซึ่งมีเนื้อหาเป็นรายละเอียดการดําเนินงานตามวิธีการจัดการพลังงานทั้ง 8 ขั้นตอน นอกจากนี้ในส่วนแรกของรายงานยังมีข้อมูลเบื้องต้นของโรงงาน/อาคารเพื่อใช้ เป็นข้อมูลพื้นฐานสําหรับการตรวจสอบรับรองด้วย

          พระราชบัญญัติการส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน  ก็ได้มีการออก ประกาศกฏกระทรวง กำหนดมาตรฐาน หลักเกณฑ์ และวิธีการจัดการ พลังงานในโรงงานควบคุมและอาคารควบคุม พ.ศ. 2552 ซึ่งประเด็น สำคัญของกฎหมายที่กล่าวมา คือ ได้มีการกำหนดแนวทาง ปฏิบัติสำหรับโรงงานควบคุมและอาคารควบคุมต้องปฏิบัติตามคือ ต้องจัดให้มีการตรวจสอบและรับรองการจัดการพลังงาน ของโรงงานควบคุมและอาคารควบคุมโดยผู้ตรวจสอบและรับรองการจัดการพลังงานที่ได้รับอนุญาต

ข้อบ่งชี้ว่าเป็นโรงงาน/อาคารควบคุม

          1. เป็นโรงงานหรืออาคาร
          2. อยู่ภายใต้บ้านเลขที่เดียวกัน
          3. ติดตั้งเครื่องวัดไฟฟ้า (มิเตอร์) ตัวเดียวหรือหลายตัวรวมกันมีขนาดตั้งแต่ 1,000 กิโลวัตต์ ขึ้นไป หรือติดตั้งหม้อแปลงไฟฟ้าขนาดตั้งแต่ 1,175 กิโลโวลท์แอมแปร์ขึ้นไป หรือมีปริมาณการใช้พลังงานไฟฟ้า ความร้อนจากไอน้ำหรือพลังงานสิ้นเปลืองอย่างใดอย่างหนึ่งรวมกัน ในรอบ 1 ปี ที่ผ่านมา เทียบเท่าพลังงานไฟฟ้า ตั้งแต่ 20 ล้านเมกะจูล ขึ้นไป

 

หน้าที่ของโรงงาน/อาคารควบคุม

          1. จัดให้มีผู้รับผิดชอบด้านพลังงานที่มีคุณสมบัติและจำนวนตามที่กําหนดในกฎกระทรวงประจำโรงงาน ควบคุมภายในเวลาที่กําหนด
          2. ต้องดำเนินการจัดให้มีการอนุรักษ์พลังงานตามมาตรฐานหลักเกณ์ และวิธีการการจัดการพลังงานที่ กําหนดในกฏกระทรวง
          3. ส่งรายงานผลการตรวจสอบและรับรองการจัดการพลังงานให้กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน (พพ.) ภายในเดือนมีนาคมของทุกปี โดยต้อง ได้รับการตรวจสอบและรับรองจาก ผู้ตรวจสอบพลังงานที่ได้รับใบอนุญาตจาก พพ.

ผู้รับผิดชอบด้านพลังงานในโรงงานควบคุม/อาคารควบคุม (ผชร./ผชอ.)  
          ผู้รับผิดชอบด้านพลังงานต้องได้รับการขึ้นทะเบียนจาก พพ. โดยต้องมีคุณสมบัติตามที่ พพ. กําหนด และต้องแจ้งการแต่งตั้งผู้รับผิดชอบภายใน 180 วัน นับแต่วันที่เป็นโรงงานควบคุม/อาคารควบคุม โดยกําหนดจำนวนผู้รับผิดชอบ ดังนี้

ประเภท โรงงานควบคุม/อาคารควบคุม
ขนาดเครื่องวัดไฟฟ้า > 1,000 kW - < 3,000 kW ≥ 3,000 kW
ขนาดหม้อแปลง > 1,175 KVA - < 3,530 KVA ≥ 3,530 KVA
ปริมาณการใช้พลังงาน > 20 ล้าน MJ/y - < 60 ล้าน MJ/y                                ≥ 60 ล้าน MJ/y
จำนวนผู้รับผิดชอบพลังงาน                  1 คน 2 คนโดยอย่างน้อย 1 คนต้องได้รับการอบรมหลักสูตรผู้รับผิดชอบด้านพลังงานอาวุโสหรือผู้ที่สอบได้ตามเกณฑ์
ประเภท โรงงานควบคุม/อาคารควบคุม
ขนาดเครื่องวัดไฟฟ้า > 1,000 kW
< 3,000 kW
≥ 3,000 kW
ขนาดหม้อแปลง > 1,175 KVA
< 3,530 KVA
≥ 3,530 KVA
ปริมาณการใช้พลังงาน > 20 ล้าน MJ/y
< 60 ล้าน MJ/y
≥ 60 ล้าน MJ/y
จำนวนผู้รับผิดชอบพลังงาน                  1 คน                               2 คนโดยอย่างน้อย 1 คนต้องได้รับการอบรมหลักสูตรผู้รับผิดชอบด้านพลังงานอาวุโสหรือผู้ที่สอบได้ตามเกณฑ์
X