• 089-7667218, 081-5736596, (02) 084-0695
  • meenergies.contact@gmail.com
  • ME Energies

Building Energy Code (BEC)

รับตรวจสอบและเซ็นต์รับรองแบบอาคารที่จะก่อสร้างใหม่ โดยใช้โปรแกรม BEC

ตรวจและรับรองโดย ทีมผู้ตรวจประเมินค่าอนุรักษ์พลังงานที่ได้รับใบอนุญาตจาก พพ.

ตรวจประเมินแบบอาคารเพื่อการอนุรักษ์พลังงาน (Building Energy Code : BEC)

ที่มา: https://www.thaienergyauditor.org

ตรวจประเมินแบบอาคารเพื่อการอนุรักษ์พลังงาน (Building Energy Code : BEC)

ความเป็นมาของ BEC

          กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน (พพ.) ได้มีการออกกฎกระทรวงที่ว่าด้วยการบังคับใช้เกณฑ์มาตรฐานด้านพลังงานสำหรับอาคาร (Building Energy Code ; BEC) โดยกำหนดให้อาคาร 9 ประเภท ที่มีขนาดตั้งแต่ 2,000 ตารางเมตรขึ้นไป ต้องมีการออกแบบอาคารให้เป็นไปตามมาตรฐาน หลักเกณฑ์ และวิธีการในการออกแบบอาคารเพื่อการอนุรักษ์พลังงาน ตามข้อกำหนดในกฎกระทรวงฯ โดยได้ประสานงานกับกรมโยธาธิการและผังเมือง ให้บังคับเกณฑ์มาตรฐาน BEC เป็นหนึ่งในข้อบังคับของการขออนุญาตก่อสร้าง

           สถานภาพปัจจุบัน กฎกระทรวงกำหนดประเภท หรือขนาดของอาคาร และมาตรฐาน หลักเกณฑ์ และวิธีการในการออกแบบอาคารเพื่อการอนุรักษ์พลังงาน พ.ศ. 2563 ได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 12 พ.ย. 63 และมีผลบังคับใช้ วันที่ 13 มี.ค. 64

          สาระสำคัญของกฎหมายได้แก่ กำหนดเกณฑ์มาตรฐานขั้นต่ำในการออกแบบของแต่ละระบบ การกำหนดให้มีผู้ตรวจประเมินในการออกแบบก่อสร้างหรือดัดแปลงอาคารเพื่อการอนุรักษ์พลังงานที่ผ่านการอบรมตามเกณฑ์ที่กำหนดและได้รับการรับรองจาก พพ. การกำหนดวิธีการและขั้นตอนการรับรองผลการตรวจประเมิน และการกำหนดรูปแบบเอกสารที่ใช้ยื่นขออนุญาตก่อสร้างหรือดัดแปลงอาคาร 

กฎหมายดังกล่าวใช้บังคับกับอาคารที่จะก่อสร้างใหม่หรือการดัดแปลง 9 ประเภท (3 กลุ่มอาคาร)

1) โรงมหรสพตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคาร
2) โรงแรมตามกฎหมายว่าด้วยโรงแรม
3) สถานบริการตามกฎหมายว่าด้วยสถานบริการ
4) สถานพยาบาลตามกฎหมายว่าด้วยสถานพยาบาล
5) สถานศึกษาตามกฎหมายว่าด้วยการศึกษาแห่งชาติ
6) สำนักงานหรือที่ทำการ
7) ห้างสรรพสินค้าหรือศูนย์การค้า
8) อาคารชุดตามกฎหมายว่าด้วยอาคารชุด
9) อาคารชุมนุมคนตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคาร

ขั้นตอนการตรวจรับรองแบบอาคารอนุรักษ์พลังงานตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน

ผู้ที่เกี่ยวข้อง

ผู้ที่เกี่ยวข้องในการกระบวนการตรวจรับรองแบบอาคารเพื่อการอนุรักษ์พลังงาน เพื่อขออนุญาตก่อสร้าง/ดัดแปลงอาคาร และเพื่อขออนุญาตใช้อาคารที่ก่อสร้าง/ดัดแปลงแล้วเสร็จมีดังนี้
       1. เจ้าของอาคาร
       2. ผู้ออกแบบ ได้แก่ สถาปนิก วิศวกร ทำหน้าที่ออกแบบอาคารให้เป็นไปตามกฎหมายและมาตรฐาน
       3. ผู้ตรวจรับรองแบบอาคารอนุรักษ์พลังงานตามกฎหมายฯ ในที่นี้อาจเป็นสถาปนิกหรือวิศวกรผู้ออกแบบอาคารนั้น หรือเป็นบุคคลที่สาม โดยจะต้องมีคุณสมบัติตามที่ พพ.กำหนด
       4. เจ้าพนักงานท้องถิ่น

ข้อมูลที่จำเป็นในการตรวจรับรองแบบอาคารอนุรักษ์พลังงานตามกฎหมายฯ

ผู้ตรวจรับรองแบบอาคารจำเป็นต้องได้รับข้อมูลที่ถูกต้องและครบถ้วนเพื่อใช้เป็นหลักฐานในการประเมินแบบอาคารตามเกณฑ์กฎกระทรวงฯ ข้อมูลดังกล่าว ได้แก่

ข้อมูลสำหรับใช้ในการติดต่อประสานงาน

ข้อมูลทั่วไป
ชื่อโครงการ/อาคาร
สถานที่ตั้งโครงการ/อาคาร
ชื่อบุคคล/เจ้าของอาคาร
ที่อยู่สำนักงาน
หมายเลขโทรศัพท์/อีเมล
ชื่อสถาบัน/วิศวกรที่ให้ข้อมูลเพิ่มเติมได้
หมายเลขติดต่อสถาบัน/วิศวกร

ข้อมูลเพื่อตรวจสอบว่าอาคารเข้าข่ายตามกฎกระทรวงฯ หรือไม่

ลักษณะอาคาร
พื้นที่อาคาร
พื้นที่ทั้งหมดของ     ____________________     ตารางเมตร (พื้นที่ 1 + 2)
1) พื้นที่ใช้สอยรวมของอาคารมดของ    ____________________    ตารางเมตร (พื้นที่ 1.1 + 1.2)
    1.1 พื้นที่ปรับอากาศ     ____________________    ตารางเมตร
    1.2 พื้นที่ไม่ปรับอากาศมดของ   ____________________   ตารางเมตร
2) พื้นที่อยู่นอกตัวอาคาร    ___________________    ตารางเมตร
ประเภทอาคาร
กรณีอาคารที่มีการใช้พื้นที่หลายลักษณะให้ระบุประเภทอาคารตามลักษณะการใช้งานของพื้นที่แต่ละส่วนพร้อมพื้นที่ของแต่ละประเภท (เลือกได้มากกว่า 1 ประเภท)
สถานพยาบาล
 ___________________ ตารางเมตร
สถานศึกษา
 ___________________ ตารางเมตร
สำนักงาน
 ___________________ ตารางเมตร
อาคารชุด
 ___________________ ตารางเมตร
อาคารชุมชน
 ___________________ ตารางเมตร
อาคารโรงมหรสพ
 ___________________ ตารางเมตร
อาคารโรงแรม
 ___________________ ตารางเมตร
อาคารสถาบริการ
 ___________________ ตารางเมตร
อาคารพาณิชยกรรม
 ___________________ ตารางเมตร

ข้อมูลประกอบการตรวจประเมินแบบอาคาร

ข้อมูลเกี่ยวกับแบบก่อสร้าง
ประเภทแบบ รายละเอียด
แบบสถาปัตยกรรม
  • ผังบริเวณ/ที่ตั้งอาคาร
  • ผังพื้นทุกชั้น และหลังคา
  • รูปด้าน 4 ด้าน
  • รูปตัด
  • แบบขยายประตู หน้าต่าง
  • ผังโครงสร้าง
แบบวิศวกรรมโครงสร้าง
  • ขนาดหน้าตัดโครงสร้างที่จำเป็น
แบบไฟฟ้าแสงสว่าง
  • ผังแสดงวงโคม สวิตซ์
แบบระบบปรับอากาศ
  • ผังแสดงการจัดวางเครื่องปรับอากาศ
  • Diagram ระบบปรับอากาศ (แบบรวมศูนย์)
แบบอุปกรณ์ผลิตน้ำร้อนที่ใช้น้ำมัน/แก๊สเป็นเชื้อเพลิง หรือเครื่องทำน้ำร้อนชนิดฮีตปั๊ม (ถ้ามี)
  • ชนิดของอุปกรณ์ทำน้ำร้อน
  • ประสิทธิภาพของอุปกรณ์
แบบระบบเซลล์แสงอาทิตย์ (ถ้ามี)
  • ประสิทธิภาพรวมของระบบ
  • พื้นที่ ทิศ มุมเอียงของแผงเซลล์แสงอาทิตย์
รายการประกอบแบบสถาปัตยกรรม
  • รายละเอียดวัสดุอาคารและสิ่งของวัสดุ
รายการประกอบแบบวิศวกรรมระบบไฟฟ้าและอากาศ
  • ชนิด/Watt ของหลอดและบัลลาสต์
  • ชนิด/Watt เครื่องปรับอากาศและอุปกรณ์ประกอบ
  • ขนาดทำความเย็นของเครื่องปรับอากาศ
รายละเอียดประมาณการค่าก่อสร้าง (ถ้ามี)
  • งบประมาณค่าก่อสร้าง
  • รายการราคาค่าใช้จ่าย (BOQ)

ข้อมูลที่จำเป็นในการยื่นขออนุญาตต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นในการตรวจรับรองฯ

นอกจากเอกสารที่ต้องใช้ยื่นขออนุญาตในการก่อสร้างตามปกติแล้ว ต้องยื่นเอกสารเพิ่มเติม ดังนี้
       1) ผลประเมินการใช้พลังงานที่ได้จากโปรแกรม BEC (ดังแสดงในรูป) หรือโปรแกรมที่น่าเชื่อถืออื่น ตามรายละเอียดที่ได้ของแบบขออนุญาตก่อสร้างอาคาร/รายละเอียดที่ได้ก่อสร้าง
อาคารจริง (As-built drawing)
       2) หนังสือรับรองคุณสมบัติผู้ตรวจรับรองฯที่ออกโดย พพ. และใบอนุญาตประกอบวิชาชีพวิศวกรรมหรือสถาปัตยกรรมควบคุม

ขั้นตอนที่เกี่ยวข้องกับการขออนุญาตก่อสร้างและขออนุญาตเปิดใช้อาคาร

       ขั้นตอนการขออนุญาตต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่น ประกอบด้วยขั้นตอนหลัก 2 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นตอนของการยื่นขออนุญาตก่อสร้างหรือดัดแปลงอาคารก่อนการเริ่มการก่อสร้างจริง และเมื่อการอสร้างหรือดัดแปลงอาคารแล้วเสร็จ จะมีขั้นตอนเพื่อขอดำเนินการในการตรวจรับรองความถูกต้องของอาคารสำหรับอาคารประเภทควบคุมการใช้ก่อนที่จะสามารถเปิดใช้อาคารได้ตามกฎหมาย อาจพอสรุปขั้นตอนและกระบวนการในการขออนุญาตก่อสร้างหรือดัดแปลงอาคาร ดังแผนภูมิต่อไปนี้

มาตรฐานและหลักเกณฑ์ในการออกแบบอาคารอนุรักษ์พลังงาน

ส่วนที่ 1 ระบบกรอบอาคาร

ค่าการถ่ายเทความร้อนรวมในส่วนที่มีการปรับอากาศ

ประเภทอาคาร OTTV
วัตต์/ตร.ม.
RTTV
วัตต์/ตร.ม.
สถานศึกษา, สำนักงาน ≤50 ≤15
ศูนย์การค้า/ห้างสรรพสินค้า,
สถานบริการ, โรงมหรสพ,
อาคารชุมนุมคน
≤40 ≤12
โรงแรม, สถานพยาบาล,
อาคารชุด
≤30 ≤10

ส่วนที่ 2.ระบบไฟฟ้าแสงสว่าง

ค่าการถ่ายเทความร้อนรวมในส่วนที่มีการปรับอากาศ

ประเภทอาคาร วัตต์/ตร.ม. พื้นที่ใช้งาน
สถานศึกษา, สำนักงาน ≤14
ศูนย์การค้า/ห้างสรรพสินค้า
สถานบริการ โรงมหรสพ
อาคารชุมนุมคน
≤18
โรงแรม, สถานพยาบาล
อาคารชุด
≤12

ส่วนที่ 3 ระบบปรับอากาศ

1. ค่าเกณฑ์มาตรฐานฯ ของระบบปรับอากาศขนาดเล็ก

ขนาดของเครื่องปรับอากาศ (วัตต์) ค่าสัมประสิทธิ์สมรรถนะ (COP)
(วัตต์ต่อวัตต์)
อัตราส่วนประสิทธิภาพพลังงาน (EER)
(บีทียูต่อชั่วโมงต่อวัตต์)
ไม่เกิน 12,000 3.22 11

2. ค่าเกณฑ์มาตรฐานฯ ของระบบปรับอากาศ ขนาดใหญ่

ก) ต้องมีค่าพลังไฟฟ้าต่อตันความเย็นไม่เกินค่าที่กำหนด
ประเภทของเครื่องทำน้ำเย็นสำหรับระบบปรับอากาศ ขนาดความสามารถในการทำความเย็นที่ระบุขีดจำกัดของเครื่องทำน้ำเย็น
(ตันความเย็น)
ค่าพลังไฟฟ้าต่อตันความเย็น (กิโลวัตต์ต่อตันความเย็น)
ชนิดการระบายความร้อน แบบของเครื่องอัด
ระบายความร้อนด้วยอากาศ ทุกชนิด น้อยกว่า 300 1.33
มากกว่า 300 1.31
ระบายความร้อนด้วยน้ำ แบบลูกสูบ ทุกขนาด 1.24
แบบโรตารี แบบสกรู หรือ แบบเลื่อนสกรอลล์ น้อยกว่า 150 0.89
มากกว่า 150 0.78
แบบแรงเหวี่ยง น้อยกว่า 500 0.76
มากกว่า 500 0.62
ข) ส่วนประกอบอื่นของระบบปรับอากาศที่ขับเคลื่อนด้วยไฟฟ้า ซึ่งประกอบด้วย ระบบระบายความร้อน ระบบจ่ายน้ำเย็น และระบบส่งลมเย็น ต้องมีค่าพลังไฟฟ้าต่อตันความเย็น รวมกันไม่เกิน 0.5 กิโลวัตต์ต่อตันความเย็น

3. ค่าเกณฑ์มาตรฐานฯ ของเครื่องทำน้ำเย็นแบบดูดกลืน

เกณฑ์มาตรฐานของเครื่องทำความเย็นแบบดูดกลืนแบบระบุอุณหภูมิและอัตราการไหลของน้ำระบายความร้อนเข้าเครื่องควบแน่น
ชนิดของเครื่องทำน้ำเย็นแบบดูดกลืน ภาวะพิกัด ค่าสัมประสิทธิ์สมรรถนะ
ด้านน้ำเย็น ด้านน้ำระบายความร้อน
อุณหภูมิน้ำเย็นเข้า อุณหภูมิน้ำเย็นออก อุณหภูมิน้ำเข้าเครื่องควบแน่น อัตราการไหลของน้ำเข้าด้านเครื่องควบแน่น
(องศาเซลเซียส) (ลิตรต่อนาที
ต่อกิโลวัตต์)
ก. ชั้นเดียว 12.0 7.0 32.0 0.105 0.65
ข. สองชั้น 12.0 7.0 32.0 0.079 1.10
เกณฑ์มาตรฐานของเครื่องทำความเย็นแบบดูดกลืนแบบระบุอุณหภูมิน้ำระบายความร้อนเข้าและออกจากเครื่องควบแน่น
ชนิดของเครื่องทำน้ำเย็นแบบดูดกลืน ภาวะพิกัด ค่าสัมประสิทธิ์สมรรถนะ
ด้านน้ำเย็น ด้านน้ำระบายความร้อน
อุณหภูมิน้ำเย็นเข้า อุณหภูมิน้ำเย็นออก อุณหภูมิน้ำเข้าเครื่องควบแน่น อุณหภูมิน้ำออกจากเครื่องควบแน่น
(องศาเซลเซียส)
ก. ชั้นเดียว 12.0 7.0 32.0 37.5 0.65
ข. สองชั้น 12.0 7.0 32.0 37.5 1.10

4. อุปกรณ์ผลิตน้ำร้อน

เครื่องทำน้ำร้อนชนิดฮีตปั้ม (Heat Pump Water Heater)
แบบ อุณหภูมิน้ำเข้า อุณหภูมิน้ำออก อุณหภูมิอากาศ สัมประสิทธิ์สมรรถนะขั้นต่ำ (Minimum COP)
แบบที่ 1 30.0 °C 50.0 °C 30.0 °C 3.5
แบบที่ 2 30.0 °C 60.0 °C 30.0 °C 3.0
หม้อไอน้ำ และหม้อต้มน้ำร้อน (Boiler)
ประเภท ประสิทธิภาพขั้นต่ำ (%)
Oil Fired Steam Boiler 85
Oil Fired Hot Water Boiler 80
Gas Fired Steam Boiler 80
Gas Fired Hot Water Boiler 80

สถานะการบังคับใช้ BEC

> 2564 บังคับใช้อาคารที่มีพื้นที่ตั้งแต่ 10,000 ตร.ม.

> 2565 บังคับใช้อาคารที่มีพื้นที่ตั้งแต่ 5,000 ตร.ม.

> 2566 บังคับใช้อาคารที่มีพื้นที่ตั้งแต่ 2,000 ตร.ม.

X