• 089-7667218, 081-5736596, (02) 084-0695
  • meenergies.contact@gmail.com
  • ME Energies

ตรวจสอบและรับรองรายงานการจัดการพลังงาน 8 ขั้นตอน

Free

สำหรับขอคำแนะนำ (การจัดทำรายงานการจัดการพลังงานรูปแบบใหม่) ปี พ.ศ. 2568

รายงานการจัดการพลังงาน

          นับตั้งแต่พระราชบัญญัติการส่งเสริมอนุรักษ์พลังงาน พ.. 2535 มีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 3 เมษายน 2535 เป็นต้นมา กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน) พพ)ได้เล็งเห็นความสำคัญของการส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน และเพื่อให้เหมาะสมกับสภาวการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปในปัจจุบัน จึงได้มีการแก้ไขเพิ่มเติม พระราชบัญญัติการส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน (ฉบับที่2) 2550 ซึ่งจะมีผลบังคับใช้วันที่ 1 มิถุนายน 2551

          การแก้ไขพรบครั้งนี้ ไม่ได้แก้ไขหรือยกเลิกเนื้อความในพระราชบัญญัติการส่งเสริมอนุรักษ์พลังงาน พ..๒๕๓๕ ทั้งฉบับ เป็นการแก้ไขข้อความใหม่เพียงบางมาตราและเพิ่มบทบัญญัติขึ้นมาใหม่บางส่วน  คือได้ยกเลิกการจัดทำรายงานเป้าหมายและแผนอนุรักษ์พลังงาน และให้ส่งรายงานการจัดการพลังงานให้ พพ. แทน ซึ่งกฎกระทรวงประกาศเมื่อ ๓๑ กรกฎาคม ๒๕๕๒ โดยให้ส่งภายในเดือนมีนาคมของทุกปี

          พ.ร.บ. การส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน พ.ศ. 2535 (แก้ไขเพิ่มเติม) พ.ศ. 2550 ระบุให้โรงงานควบคุม และอาคารควบคุมต้องดําเนินการตามวิธีการจัดการพลังงานทั้ง 8 ขั้นตอน และต้อง จัดทํารายงานการจัดการพลังงาน รวมทั้งแนบผลการตรวจสอบและรับรองจากทีมงานผู้ตรวจสอบพลังงานภายนอกที่ขึ้นทะเบียนกับ พพ. ให้แก่อธิบดีกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงานภายในเดือนมีนาคมของทุกปี (นําส่ง 1 ครั้งต่อปี) เพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบต่อไป 

          การจัดเตรียมและบันทึกข้อมูลลงในแบบบันทึก รวมถึงการจัดทํารายงานการจัดการพลังงานจึงมีความสําคัญอย่างยิ่ง เพราะรายงานดังกล่าวต้องมีความถูกต้องและครบถ้วน ทั้งนี้เพื่อให้ผ่านการตรวจสอบและรับรองโดยผู้ตรวจสอบพลังงาน จึงจะสามารถนําส่งให้แก่  พพ. เพื่อตรวจรับได้

          รายงานการจัดการพลังงาน ประกอบด้วย 8 บท ซึ่งมีเนื้อหาเป็นรายละเอียดการดําเนินงานตามวิธีการจัดการพลังงานทั้ง 8 ขั้นตอน นอกจากนี้ในส่วนแรกของรายงานยังมีข้อมูลเบื้องต้นของโรงงาน/อาคารเพื่อใช้ เป็นข้อมูลพื้นฐานสําหรับการตรวจสอบรับรองด้วย

          พระราชบัญญัติการส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน  ก็ได้มีการออก ประกาศกฏกระทรวง กำหนดมาตรฐาน หลักเกณฑ์ และวิธีการจัดการ พลังงานในโรงงานควบคุมและอาคารควบคุม พ.ศ. 2552 ซึ่งประเด็น สำคัญของกฎหมายที่กล่าวมา คือ ได้มีการกำหนดแนวทาง ปฏิบัติสำหรับโรงงานควบคุมและอาคารควบคุมต้องปฏิบัติตามคือ ต้องจัดให้มีการตรวจสอบและรับรองการจัดการพลังงาน ของโรงงานควบคุมและอาคารควบคุมโดยผู้ตรวจสอบและรับรองการจัดการพลังงานที่ได้รับอนุญาต 

ข้อบ่งชี้ว่าเป็นโรงงาน/อาคารควบคุม

          1. เป็นโรงงานหรืออาคาร
          2. อยู่ภายใต้บ้านเลขที่เดียวกนั
          3. ติดตั้งเครื่องวัดไฟฟ้า (มิเตอร์) ตัวเดียวหรือหลายตัวรวมกันมีขนาดตั้งแต่ 1,000 กิโลวัตต์ ขึ้นไป หรือติดตั้งหม้อแปลงไฟฟ้าขนาดตั้งแต่ 1,175 กิโลโวลท์แอมแปร์ขึ้นไป หรือมีปริมาณการใช้พลังงานไฟฟ้า ความร้อนจากไอน้ำหรือพลังงานสิ้นเปลืองอย่างใดอย่างหนึ่งรวมกัน ในรอบ 1 ปี ที่ผ่านมา เทียบเท่าพลังงานไฟฟ้า ตั้งแต่ 20 ล้านเมกะจูล ขึ้นไป

 

หน้าที่ของโรงงาน/อาคารควบคุม

          1. จัดให้มีผู้รับผิดชอบด้านพลังงานที่มีคุณสมบัติและจำนวนตามที่กําหนดในกฎกระทรวงประจำโรงงาน ควบคุมภายในเวลาที่กําหนด
          2. ต้องดำเนินการจัดให้มีการอนุรักษ์พลังงานตามมาตรฐานหลักเกณ์ และวิธีการการจัดการพลังงานที่ กําหนดในกฏกระทรวง
          3. ส่งรายงานผลการตรวจสอบและรับรองการจัดการพลังงานให้กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน (พพ.) ภายในเดือนมีนาคมของทุกปี โดยต้อง ได้รับการตรวจสอบและรับรองจากผู้ตรวจสอบพลังงานที่ได้รับใบอนุญาตจาก พพ.

ผู้รับผิดชอบด้านพลังงานในโรงงานควบคุม/อาคารควบคุม (ผชร./ผชอ.)  
ผู้รับผิดชอบด้านพลังงานต้องได้รับการขึ้นทะเบียนจาก พพ. โดยต้องมีคุณสมบัติตามที่ พพ. กําหนด และต้องแจ้งการแต่งตั้งผู้รับผิดชอบภายใน 180 วัน นับแต่วันที่เป็นโรงงานควบคุม/อาคารควบคุม โดยกําหนดจำนวนผู้รับผิดชอบ ดังนี้

เรามีทีมงานตรวจสอบรายงานการจัดการพลังงาน
โดยผู้ชำนาญการตรวจสอบที่มีประสบการณ์ด้านการจัดการพลังงานมากกว่า 10 ปี

          ทำไมหลายแห่งถึงคัดเลือกผู้ตรวจสอบและรับรองการจัดการพลังงานในช่วงที่จะตรวจสอบฯเท่านั้น จัดจ้างก่อนได้รับการแนะนำอย่างต่องเนื่อง ช่วยแบ่งเบาภาระให้กับคณะทำงานฯทุกท่าน ในการดำเนินการจัดการพลังงานประจำปี ทั้งเรื่องการกำหนดเป้าหมายและแผนอนุรักษ์พลังงาน ,การฝึกอบรมและกิจกรรมส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน เราเป็นทีมตรวจสอบฯ ที่ให้คำแนะนำทีมคณะทำงานฯ อย่างต่อเนื่องในการจัดทำระบบการจัดการพลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ เสมือนเป็นพี่เลี้ยงคอยแนะนำให้การดำเนินการให้สอดคล้องตามข้อกำหนดของกฎกระทรวง

ประโยชน์ที่ท่านจะได้รับ

+  บริษัทจะได้ดำเนินการอย่างถูกต้องตาม พ.ร.บ. ส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน (ฉบับที่๒) พ.ศ.๒๕๕๐
+  พัฒนาระบบการจัดการพลังงานผ่านกระบวนการ ตรวจสอบจากผู้ตรวจสอบและรับรองจากภายนอก
+  ผลการตรวจรับรองการจัดการพลังงานที่ชัดเจน แม่นยำ โดยใช้เวลาให้เกิดประโยชน์สูงสุด
+  การ กระตุ้นและสร้างแรงจูงใจให้พนักงานในองค์กรได้มีส่วนร่วมในระบบการจัดการพลังงาน
+  ลดค่าใช้จ่ายด้านพลังงานจากมาตรการอนุรักษ์พลังงานที่เหมาะสม
+  ข้อเสนอแนะ ข้อแนะนำ ที่เป็นประโยชน์ ที่เกี่ยวข้องกับระบบการจัดการพลังงาน ทั้งในเชิงเทคนิคและระบบการบริหารจัดการ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและลดต้นทุนและค่าใช้จ่ายทางด้านพลังงานในองค์กร

รายละเอียดการตรวจสอบและรับรองการจัดการพลังงาน 8 ขั้นตอน

1. การตั้งคณะทำงานด้านการจัดการพลังงาน

 –  มีการจัดทำคำสั่งแต่งตั้งคณะทำงานด้านการจัดการพลังงานเป็นเอกสาร

 –  มีการกำหนดโครงสร้างอำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบของคณะทำงาน

 –  มีการเผยแพร่คำสั่งแต่งตั้งคณะทำงานฯ ให้บุคลากรของโรงงาน/อาคารทราบ

2. การประเมินสถานภาพการจัดการพลังงานเบื้องต้น

 –  มีการประเมินสถานภาพการจัดการพลังงานเบื้องต้น โดยการพิจารณาจากการดำเนินงานด้านพลังงานที่ผ่านมาก่อนกำหนดนโยบายพลังงาน

3. การกำหนดนโยบายอนุรักษ์พลังงาน

 –  มีการจัดทำนโยบายอนุรักษ์พลังงานเป็นเอกสารและลงลายมือชื่อเจ้าของโรงงาน/อาคาร

 –  นโยบายต้องแสดงเจตจานงและความมุ่งมั่นในการจัดการพลังงาน

 –  มีการเผยแพร่นโยบายโดยปิดประกาศหรือโดยวิธีอื่นที่เหมาะสมเพื่อให้บุคลากรทราบ

4. การประเมินศักยภาพการอนุรักษ์พลังงาน

 –  มีการประเมินศักยภาพการอนุรักษ์พลังงาน โดยการตรวจสอบและวิเคราะห์สภาพการใช้พลังงานที่มีนัยสำคัญ เพื่อหาสภาพการสูญเสียพลังงานและกำหนดมาตรการในการลดการสูญเสียดังกล่าว

 –  การประเมินการใช้พลังงานที่มีนัยสำคัญ มีการพิจารณาปัจจัยหลักในการประเมิน ได้แก่ขนาดการใช้พลังงาน ชั่วโมงการใช้พลังงาน และศักยภาพในการปรับปรุง

 –  การประเมินศักยภาพการอนุรักษ์พลังงาน มีการประเมินหาสภาพการใช้พลังงานที่มีนัยสำคัญ ในระดับองค์กร, ระดับผลิตภัณฑ์หรือบริการ, ระดับอุปกรณ์

 –  การประเมินระดับองค์กรมีการรวบรวมเกี่ยวกับระบบไฟฟ้า, การผลิตหรือการบริการ, การใช้พลังงาน ตั้งแต่เดือนมกราคม – ธันวาคมของปีที่ผ่าน

 –  การประเมินระดับผลิตภัณฑ์หรือบริการมีการวิเคราะห์กระบวนการผลิตหรือบริการ และหาค่าการใช้พลังงานจาเพาะ (ค่าSEC)

 –  การประเมินระดับอุปกรณ์มีการประเมินการใช้พลังงานที่มีนัยสำคัญของแต่ละอุปกรณ์หลักรวมทั้งวิเคราะห์หาประสิทธิภาพการใช้พลังงานและการสูญเสียพลังงานในแต่ละอุปกรณ์

 –  ผลการประเมินศักยภาพการอนุรักษ์พลังงานเป็นส่วนหนึ่งของรายงานการจัดการพลังงาน

5. การกำหนดเป้าหมาย และแผนอนุรักษ์พลังงาน และแผนการฝึกอบรม และกิจกรรมเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน

 –  มีการกำหนดเป้าหมายและแผนการอนุรักษ์พลังงานที่ประสงค์จะให้ลดลงรวมทั้งระบุระยะเวลาการดาเนินการ การลงทุน และผลที่คาดว่าจะได้รับจากการดาเนินการ

 –  มีการนำข้อมูลการใช้พลังงานและข้อมูลเกี่ยวกับ ปัจจัยอื่นที่มีผลกระทบต่อการใช้พลังงานมาใช้ประกอบการกำหนดเป้าหมายและแผนการอนุรักษ์พลังงาน

 –  มีการแยกเป้าหมายการอนุรักษ์พลังงานเป็นมาตรการด้านไฟฟ้า และมาตรการด้านความร้อน

 –  แผนอนุรักษ์พลังงานด้านไฟฟ้ามีรายละเอียดครบ (ตามประกาศกระทรวงฯ ข้อ 8)

 –  แผนอนุรักษ์พลังงานด้านความร้อนมีรายละเอียดครบ (ตามประกาศกระทรวงฯ ข้อ 8)

 –  มีการจัดทำแผนการฝึกอบรมและกิจกรรมเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน ตามแผนการอนุรักษ์พลังงานที่จัดทำขึ้น

 –  มีการเผยแพร่แผนการฝึกอบรมและกิจกรรมเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงานให้บุคลากรทราบอย่างทั่วถึง

6. การดำเนินการตามแผนอนุรักษ์พลังงาน การตรวจสอบและวิเคราะห์การปฏิบัติตามเป้าหมายและแผนอนุรักษ์พลังงาน

 –  มีการควบคุมดูแลให้มีการดำเนินการตามแผนการอนุรักษ์พลังงาน รวมทั้งแผนการฝึกอบรมหรือกิจกรรมเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน

 –  มีการมอบหมายให้คณะทำงานด้านการจัดการพลังงานดาเนินการให้ผู้รับผิดชอบมาตรการอนุรักษ์พลังงานแต่ละมาตรการตามแผนอนุรักษ์พลังงาน และแผนการฝึกอบรม และกิจกรรมเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน รายงานผลการดำเนินการตามแผนให้คณะทำงานทราบอย่างสม่ำเสมอ

 –  มีการตรวจสอบและวิเคราะห์ผลการดำเนินงานตามแผน จากรายงานผลการดำเนินงานของผู้รับผิดชอบในแต่ละมาตรการโดยคณะทำงานตามช่วงเวลาที่เหมาะสม

 –  มีการจัดทำรายงานผลการดำเนินการตามแผนอนุรักษ์พลังงานแต่ละมาตรการ ตามที่กำหนดในเป้าหมายและแผนอนุรักษ์พลังงานตามแบบรายงานผลการตรวจสอบและวิเคราะห์การปฏิบัติตามเป้าหมายและแผน โดยมีรายละเอียดครบ (ตามประกาศกระทรวงฯ ข้อ 8)

7. การตรวจติดตามและประเมินการจัดการพลังงาน

 –  จัดให้มีการตรวจติดตามและประเมินการจัดการพลังงาน ในลักษณะของการตรวจสอบภายในในช่วงเวลาที่เหมาะสมเป็นประจำ

 –  มีคำสั่งแต่งตั้งคณะผู้ตรวจประเมินการจัดการพลังงานภายในองค์กรโดยประกอบด้วยบุคคลอย่างน้อยสองคน และเผยแพร่ให้บุคลากรทราบอย่างทั่วถึง

 –  มีการดำเนินการตรวจติดตามฯ การดำเนินการจัดการพลังงานตามข้อกำหนดโดยการตรวจสอบเอกสารและหลักฐานที่เกี่ยวข้องกับการจัดการพลังงาน

8. การทบทวน วิเคราะห์และแก้ไขข้อบกพร่องของการจัดการพลังงาน

 –  มีการประชุมเพื่อทบทวน วิเคราะห์และแก้ไขข้อบกพร่องของการจัดการพลังงาน ตามช่วงเวลาที่เหมาะสมอย่างน้อยปีละ1 ครั้ง

 –  ในการประชุม มีตัวแทนจากหน่วยงานภายในของอาคารเข้าร่วมแสดงความคิดเห็นต่อการจัดการพลังงานของโรงงาน/อาคาร

 –  เจ้าของโรงงาน/อาคารมีการนำผลการทบทวน วิเคราะห์และแก้ไขข้อบกพร่องไปใช้ในการปรับปรุงและพัฒนาการจัดการพลังงานให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

 –  มีการเผยแพร่ผลการประชุมและผลการทบทวนวิเคราะห์และแก้ไขข้อบกพร่องของการจัดการพลังงานให้บุคลากรรับทราบอย่างทั่วถึง

รายละเอียดการตรวจสอบและรับรองการจัดการพลังงาน 8 ขั้นตอน

1. การตั้งคณะทำงานด้านการจัดการพลังงาน

ระดับร้ายแรง (Major)
      1. ไม่มีคำสั่งแต่งตั้งคณะทำงานฯ เป็นเอกสาร
      2. ไม่มีการกำหนดอำนาจหน้าที่ และความรับผิดชอบของคณะทำงานฯ
      3. ไม่มีการเผยแพร่คำสั่งแต่งตั้งคณะทำงานฯ ด้วยวิธีการใดๆ
      4. อื่นๆ(ถ้ามี)
ระดับไม่ร้ายแรง (Minor)
      1. มีคำสั่งแต่งตั้งคณะทำงานฯ เป็นเอกสาร แต่ไม่ได้ลงนามโดยผู้บริหารระดับสูงหรือเจ้าของโรงงาน
ควบคุม/อาคารควบคุม
      2. มีการกำหนดอำนาจหน้าที่ และความรับผิดชอบของคณะทำงานฯ โดยสอดคล้องกับสาระสำคัญใน
บางข้อในกฎกระทรวงข้อ 5
      3. มีการเผยแพร่คำสั่งแต่งตั้งคณะทำงานฯ ด้วยวิธีการต่างๆ แต่บุคลากรของโรงงานควบคุม/อาคาร
ควบคุมได้รับทราบไม่ทั่ว

2. การประเมินสถานภาพการจัดการพลังงานเบื้องต้น

ระดับร้ายแรง (Major)
      1. ไม่มีการประเมินสภานภาพการจัดการพลังงานเบื้องต้นทั้งในหน่วยงานย่อยตามโครงสร้าง และ
ภาพรวมของโรงงานควบคุมและอาคารควบคุม
      2. อื่นๆ (ถ้ามี)
ระดับไม่ร้ายแรง (Minor)
      1. มีการประเมินฯ ไม่ครบทุกหน่วยงานย่อยตามโครงสร้างของโรงงานควบคุม/อาคารควบคุม
      2. มีการประเมินฯ ตามข้อ 1 แต่ไม่ครบทั้ง 6 องค์ประกอบที่กำหนดใน EMM
      3. มีเอกสาร/หลักฐาน แบบประเมินฯ ตามข้อ 1 ไม่ครบ
      4. อื่นๆ (ถ้ามี)

3. การกำหนดนโยบายอนุรักษ์พลังงาน

ระดับร้ายแรง (Major)
      1. ไม่มีการกำหนดนโยบายอนุรักษ์พลังงานเป็นเอกสาร
      2. ไม่มีการกำหนดเนื้อหาสาระสำคัญของนโยบายฯ เลย
      3. ไม่มีการเผยแพร่นโยบายฯ ด้วยวิธีการใดๆ เลย
      4. อื่นๆ (ถ้ามี)
ระดับไม่ร้ายแรง (Minor)
      1. นโยบายฯ ไม่ได้ลงนามโดยผู้บริหารระดับสูงหรือเจ้าของโรงงานควบคุม/อาคารควบคุม
      2. มีการกำหนดนโยบายฯ สอดคล้องกับสาระสำคัญในบางข้อในกฎกระทรวงข้อ 4
      3. มีการเผยแพร่นโยบายฯ ด้วยวิธีการต่างๆ แต่บุคลากรของโรงงานควบคุม/อาคารควบคุมได้รับทราบ
ไม่ทั่วถึงและไม่สามารถปฏิบัติตามนโยบายฯ ได้
      4. อื่นๆ (ถ้ามี)

4. การประเมินศักยภาพการอนุรักษ์พลังงาน

ระดับร้ายแรง (Major)
      1. ไม่มีการประเมินศักยภาพการอนุรักษ์พลังงานทุกข้อกำหนด ตามหลักเกณฑ์และวิธีการตามที่
รัฐมนตรีประกาศกำหนด
      2. อื่นๆ (ถ้ามี)
ระดับไม่ร้ายแรง (Minor)
      1. มีการประเมินศักยภาพการอนุรักษ์พลังงานไม่ครบทุกข้อกำหนดตามหลักเกณฑ์และวิธีการตามที่
รัฐมนตรีประกาศกำหนด
      2. ผลการประเมินศักยภาพการอนุรักษ์พลังงานไม่ถูกต้อง
      3. อื่นๆ (ถ้ามี)

5. การกำหนดเป้าหมาย และแผนอนุรักษ์พลังงาน และแผนการฝึกอบรม และกิจกรรมเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน

ระดับร้ายแรง (Major)
      1. ไม่มีการกำหนดเป้าหมายการอนุรักษ์พลังงาน
      2. ไม่มีการกำหนดเป้าหมายและแผนอนุรักษ์พลังงานตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่รัฐมนตรีประกาศ
กำหนด
      3. ไม่มีการกำหนดแผนการฝึกอบรม
      4. ไม่มีการเผยแพร่แผนการฝึกอบรม ให้บุคลากรของโรงงานควบคุม/อาคารควบคุมรับทราบอย่าง
ทั่วถึง
      5. ไม่มีกิจกรรมเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน
      6. ไม่มีการเผยแพร่กิจกรรมเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน ให้บุคลากรของโรงงานควบคุม/อาคาร
ควบคุมรับทราบอย่างทั่วถึง
      7. อื่นๆ (ถ้ามี)
ระดับไม่ร้ายแรง (Minor)
      1. ผลการกำหนดมาตรการอนุรักษ์พลังงานด้านไฟฟ้าและความร้อนไม่ถูกต้อง
      2. มีการเผยแพร่แผนการฝึกอบรม แต่บุคลากรของโรงงานควบคุม/อาคารควบคุมรับทราบไม่ทั่วถึง
      3. มีกิจกรรมเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน แต่บุคลากรของโรงงานควบคุม/อาคารควบคุมรับทราบ
ไม่ทั่วถึง
      4. อื่นๆ (ถ้ามี)

6. การดำเนินการตามแผนอนุรักษ์พลังงาน การตรวจสอบและวิเคราะห์การปฏิบัติตามเป้าหมายและแผนอนุรักษ์พลังงาน

ระดับร้ายแรง (Major)
      1. ไม่มีการติดตามผลการดำเนินงานตามแผนอนุรักษ์พลังงาน และการดำเนินการตรวจสอบและ
วิเคราะห์การปฏิบัติตามเป้าหมายและแผนอนุรักษ์พลังงานตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด
      2. ไม่มีการติดตามผลการดำเนินงานของแผนการจัดฝึกอบรม
      3. ไม่มีการจัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน
ระดับไม่ร้ายแรง (Minor)
      1. ผลการตรวจสอบและวิเคราะห์การปฏิบัติตามเป้าหมายและแผนอนุรักษ์พลังงานในแต่ละมาตรการ
อนุรักษ์พลังงานไม่ถูกต้อง
      2. ผลการติดตามการจัดฝึกอบรม ไม่เป็นไปตามแผนที่กำหนดไว้
      3. ผลการติดตามกิจกรรมส่งเสริมเพื่อการอนุรักษ์พลังงานไม่เป็นไปตามแผนที่กำหนดไว้

      4. อื่นๆ (ถ้ามี)

7. การตรวจติดตามและประเมินการจัดการพลังงาน

ระดับร้ายแรง (Major)
      1. ไม่มีคำสั่งแต่งตั้งคณะผู้ตรวจประเมินการจัดการพลังงานภายในองค์กร
      2. ไม่มีการตรวจประเมินการจัดการพลังงานตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด
      3. ไม่มีการเผยแพร่คำสั่งแต่งตั้งคณะตรวจประเมินฯ ให้บุคลากรในโรงงานควบคุม/อาคารควบคุม
รับทราบอย่างทั่วถึง

      4. อื่นๆ (ถ้ามี)

ระดับไม่ร้ายแรง (Minor)
      1. มีการตรวจประเมินการจัดการพลังงานตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด แต่ไม่
ครบทุกองค์ประกอบของวิธีการจัดการพลังงาน
      2. มีการเผยแพร่คำสั่งแต่งตั้งคณะผู้ตรวจประเมิน แต่บุคลากรของโรงงานควบคุม/อาคารควบคุม
รับทราบไม่ทั่วถึง
      3. อื่นๆ (ถ้ามี)

8. การทบทวน วิเคราะห์และแก้ไขข้อบกพร่องของการจัดการพลังงาน

ระดับร้ายแรง (Major)
      1. ไม่มีการทบทวน วิเคราะห์และแก้ไขข้อบกพร่องของการจัดการพลังงานตามหลักเกณฑ์และวิธีการ
ที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด
      2. ไม่มีการนำผลของการตรวจติดตามและประเมินการจัดการพลังงานมานำเสนอคณะทำงานการจัด
การพลังงาน เพื่อทบทวน วิเคราะห์และแก้ไขข้อบกพร่องของการจัดการพลังงานในรอบปี

      3. ไม่มีผลการทบทวน วิเคราะห์และแก้ไขข้อบกพร่องของการจัดการพลังงาน
      4. ไม่มีเอกสาร/หลักฐานที่แสดงถึงการเผยแพร่ให้บุคลากรของโรงงานควบคุม/อาคารควบคุมรับทราบ
อย่างทั่วถึงของผลการทบทวน วิเคราะห์และแก้ไขข้อบกพร่องของการจัดการพลังงาน
      5. อื่นๆ (ถ้ามี)
ระดับไม่ร้ายแรง (Minor)
      1. มีผลการทบทวน วิเคราะห์และแก้ไขข้อบกพร่องของการจัดการพลังงานแต่ไม่ครบทุกองค์ประกอบ
ของวิธีการจัดการพลังงาน
      2. มีเอกสาร/หลักฐานที่แสดงถึงการเผยแพร่ให้บุคลากรของโรงงานควบคุม/อาคารควบคุม รับทราบไม่ทั่วถึงของผลการทบทวนวิเคราะห์และแก้ไขข้อบกพร่องของการจัดการพลังงาน
      3. อื่นๆ (ถ้ามี)

แถม Free

หลักสูตรเทคนิคการประหยัดพลังงานพื้นฐาน จำนวน 1 รุ่น ระยะเวลา 3 ชั่วโมง เมื่อสนใจตรวจสอบและรับรองรายงานการจัดการพลังงาน 8 ขั้นตอน กับทางเรา

ใบอนุญาตตรวจสอบและรับรองการจัดการพลังงาน เลขที่ (บ.0079/59)

ตรวจสอบและรับรองรายงานการจัดการพลังงาน

ผู้รับใบอนุญาต นายสาธิต เกียรติยศวีรกุล

ประสบการณ์ 26 ปี ด้านอนุรักษ์พลังงาน

ผลงานการตรวจสอบและรับรองการจัดการพลังงาน 8 ขั้นตอน

บริษัท เอี่ยมไพศาลอุตสาหกรรม จำกัด

โรงพยาบาลพญาไท 1

ห้างพาต้าปิ่นเกล้า

โรงแรมแกรนด์จอมเทียนพาเลซ

โรงพยาบาลปทุมเวช

ผลงานการตรวจสอบและรับรองการจัดการพลังงานประจำปี พ.ศ. 2566

ผลงานการตรวจสอบและรับรองการจัดการพลังงานประจำปี พ.ศ. 2565

ผลงานการตรวจสอบและรับรองการจัดการพลังงานประจำปี พ.ศ. 2564

ผลงานการตรวจสอบและรับรองการจัดการพลังงานประจำปี พ.ศ. 2563

ผลงานการตรวจสอบและรับรองการจัดการพลังงานประจำปี พ.ศ. 2562

X